เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [5. ปัญจมปัณณาสก์] 1. กิมพิลวรรค 1. กิมพิลวรรค
5. ปัญจมปัณณาสก์
1. กิมพิลวรรค
หมวดว่าด้วยพระกิมพิละ
1. กิมพิลสูตร
ว่าด้วยท่านพระกิมพิละ
[201] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าไผ่ เขตเมืองกิมิลา ครั้งนั้น
ท่านพระกิมพิละได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็น
เหตุปัจจัยให้พระสัทธรรมไม่ดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “กิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้
1. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในศาสดา1
2. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในธรรม2
3. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสงฆ์3
4. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสิกขา4
5. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงกันและกัน5

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงเมื่อขึ้นสู่ลานเจดีย์เป็นต้น ก็ไม่หุบร่ม ไม่ถอดรองเท้า และกล่าวคำหยาบเป็นต้น ซึ่งแสดงถึง
ความไม่เคารพ (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/201/84)
2 หมายถึงนั่งหลับและคุยกันในขณะฟังธรรม (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/201/84)
3 หมายถึงอยู่ท่ามกลางสงฆ์ก็ไม่สำรวมกายวาจาให้เรียบร้อย และไม่มีความเคารพในพระเถระ ได้แก่ พระผู้มี
ระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ที่นับว่าเป็นพระผู้ใหญ่ คือมีพรรษาตั้งแต่ 10 ขึ้นไป ในพระมัชฌิมะ ได้แก่
พระระดับกลาง มีพรรษาตั้งแต่ครบ 5 แต่ยังไม่ถึง 10 ในพระนวกะ ได้แก่ พระใหม่มีระดับอายุ คุณธรรม
ความรู้ที่นับว่ายังใหม่ มีพรรษาต่ำกว่า 5 ที่ยังต้องถือนิสสัย) (วิ.อ. 1/45/253, องฺ.ปญฺจก.อ. 3/201/84)
4 หมายถึงไม่บำเพ็ญไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ให้บริบูรณ์ (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/201/84)
5 หมายถึงก่อการทะเลาะวิวาทกันเป็นต้น (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/201/84)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :343 }